โรคโควิด ผิวหนัง และหัตถการความงาม
- แจน แจนแจน
- Feb 19, 2021
- 1 min read
ทย์ผิวหนังเผยความปลอดภัยเมื่อเข้าใช้บริการศูนย์หัตการความงาม เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 และอาการโรคผื่นผิวหนังจากโควิด-19 พร้อมแนะนำการใช้หน้ากากอนามัยไม่ให้เกิดผื่นคัน
รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ได้เสนอแนวทางในการจัดระเบียบการให้บริการในคลินิกความงามเพื่อให้มีความปลอดภัยหรือ To Be Safety ทั้งกับคนไข้และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระหว่างการทำหัตถการความงามโดยแพทย์ผิวหนัง ซึ่งในกลุ่มการรักษาที่ใช้การจี้ พ่น ฉีด ทั้งหลาย ซึ่งอาจทำให้เกิดควันหรือละอองฝอย เช่น การจี้ไฟฟ้า การทำเลเซอร์บางอย่างที่ทำให้มีควัน การรักษาหูดด้วยความเย็น (มีละอองฝอย) การฉีดฟิลเลอร์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยง โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ในการแพร่ระบาดโควิด-19 เราเสนอให้มีการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยโดยการให้ผู้ป่วยกรอกแบบสอบถามตามความจริงก่อนเข้ารับการรักษา การปรับการแต่งกายของแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันเชื้อ เช่น เปลี่ยนเสื้อผ้า ใส่หน้ากากอนามัย และ face shield ตลอดจนปรับพื้นที่ของคลินิก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเว้นระยะห่างระหว่างกันได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้สามารถลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคได้
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับอาการและผื่นผิวหนังที่พบในช่วงโควิด-19 โดย พญ.แพรวพรรณ บุณยรัตพันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “อาการของโควิด-19 มีอาการทางระบบผิวหนังได้ แต่เป็นอาการรองและพบได้หลายรูปแบบ โดยอาการหลักของโรคยังจะเป็นในเรื่องของไข้ และอาการทางระบบทางเดินหายใจ ส่วนอาการแสดงทางผิวหนังในโรคโควิด-19ที่มีการรายงานนั้น คาสิโนออนไลน์ แทงเสีย พบได้ไม่บ่อย และหลากหลาย ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นผื่นที่มีอาการไม่เฉพาะ คล้ายกับการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ซึ่งเราต้องสังเกตตัวเองว่า ถ้าเกิดผื่นขึ้น ร่วมกับมีประวัติเสี่ยง และอาการอื่น ๆ ที่ทำให้สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 และอาการเหล่านั้น ควรต้องรีบไปตรวจ และที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันตนเอง เวลาออกไปข้างนอกให้ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ข้อควรระวังคือ พยายามไม่เอามือไปสัมผัสบริเวณใบหน้า หรือขยี้ตา ซึ่งอาจทำให้มีการติดเชื้อจากการสัมผัสได้“ที่จริงผื่นผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงนี้ กลับไม่ใช่อาการจากโรคโควิด-19 แต่เป็นผื่นผิวหนังจากภาวะอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวให้เข้ากับภาวะ New Normal ซึ่งที่เจอบ่อย ๆ อย่างเช่น มือแห้งแตก จากการล้างมือบ่อย หรือใช้แอลกอฮอล์เจล เป็นต้น

ดังนั้นควรจะต้องเน้นเรื่องการใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ควบคู่ไปด้วยด้วย คอยหมั่นทาไว้ มือจะได้ไม่แห้งไม่แตกจนเกินไป สำหรับผื่นบนใบหน้าที่พบจากการใส่หน้ากากอนามัยก็พบได้บ้าง เช่น เป็นสิว หรือผื่นแพ้บนใบหน้า ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการทำความสะอาดหน้ากากผ้าที่ใช้บ่อย ๆ หรืออย่าใช้ซ้ำ ใช้เสร็จ 1 วันหลังจากที่กลับบ้านมาแล้ว ควรที่จะต้องล้างทำความสะอาดทันทีเพราะจะมีเชื้อโรคจากน้ำลายหรือเหงื่อ ซึ่งถ้าสัมผัสบนผิวหน้าเราอยู่เป็นเวลานาน ก็จะเกิดผื่นได้ และควรล้างหน้าให้สะอาดเมื่อกลับถึงบ้านด้วย” รศ.พญ.รังสิมา กล่าว
เสียงเพลงช่วยให้การ WORKOUT ของเราดีขึ้น
แอโรบิคประกอบเพลงมันส์ๆ หรือการใส่หูฟังไม่ใช่แค่ความคูล แต่ยังส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกาย เมื่อออกกำลังกายที่ระดับความหนักเบาถึงปานกลางประโยชน์ของดนตรี นอกจากสร้างความสุนทรีย์ช่วยบำบัดในเรื่องของอารมณ์แล้ว จังหวะมันส์ๆ ของเสียงดนดรีที่บรรเลงในเพลงที่เราฟัง ยังมีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอีกหลายระบบในร่างกาย นอกจากนี้ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบถึงประโยชน์ของการฟังเพลงขณะออกกำลังกาย ที่ช่วยลดความเบื่อหน่าย ช่วยพัฒนาคุณภาพในการออกกำลังกาย แถมยังเพิ่มความทนทานได้อีกด้วยมีงานวิจัยที่ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง Electroencephalogram (EEG) ในขณะฟังเพลง ASIAX8 พบว่า การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนั้นช่วยลดคลื่นธีต้า (Theta waves) ชนิดความถี่ 4-7 เฮิร์ต (Hz) ได้ ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการระงับอาการเมื่อยล้าต่างๆ นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนบอกว่า หากวิ่งพร้อมฟังเพลงไปด้วย จะทำให้วิ่งได้นานขึ้นก็เป็นได้อีกงานวิจัยจากการทดลองให้ผู้หญิง 19 คน ออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (ENDURANCE) เช่น การวิ่ง และออกกำลังกายแบบหนัก (HIGH-INTENSITY) เช่น การยกเวท ซึ่งทดลองกันภายใต้ 4 ตัวแปร คือออกกำลังกายโดยไม่ฟังเพลง, ออกกำลังกายและฟังเพลงช้า, ออกกำลังกายและฟังเพลงเร็ว, ออกกำลังกายละฟังเพลงที่มี BPM (BEATS PER MINUTE) สูง ผลปรากฏว่าดนตรีที่บีทเร็วสูงจะยิ่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงที่สุดในทุกตัวแปร ซึ่งจะเป็นผลดีกับการออกกำลังกายแบบต่อเนื่องเมื่อดูผลของการฟังเพลงที่มีต่อระบบการทำงานของร่างกายขณะออกกำลังกาย พบว่า การฟังเพลงที่ทำให้เรารู้สึกสนุกสนานจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์ ในทางตรงข้าม หากฟังเพลงที่ฟังแล้วหดหู่ การไหลเวียนโลหิตก็จะลดลงไปถึง 6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้ร่างกายนำออกซิเจนไปใช้ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ถึงตอนนี้หลายคนคงพอจะทราบถึงประโยชน์ของการฟังเพลงไปบ้างแล้ว ก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วต้องเลือกเพลงแบบไหนมาใช้ฟังขณะออกกำลังกายการเลือกระดับความเร็วของเพลงที่ฟังขณะออกกำลังกายก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้ มีงานวิจัยพบว่า การฟังเพลงที่มีจังหวะเร็วจะส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายเมื่อออกกำลังกายที่ระดับความหนักเบาถึงปานกลาง โดยที่การออกกำลังกายแต่ละชนิดก็จะมีระดับความเร็วของจังหวะเพลงที่เหมาะสมแตกต่างกันเช่น หากต้องการปั่นจักรยานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 125 – 140 BPM6 หรือเวลาวิ่งบนลู่วิ่งสายพานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 123-131 BPM7 แต่ทั้งนี้ ร่างกายของแต่ละบุคคลก็จะตอบสนองต่อระดับจังหวะความเร็วของเพลงที่แตกต่างกัน ลองเลือกเพลงที่คุณชอบ ที่สามารถทำให้การออกกำลังกายของคุณสนุกสนาน มาจัดเพลย์ลิสต์ให้เหมาะสม แล้วไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอกันเถอะ
Comments